ชีวมวล” หมายถึง อินทรีย์สารที่ได้จากพืชหรือสัตว์ หรือพูดง่ายๆคือขยะเหลือใช้จากภาคเกษตร ยกตัวอย่างเช่น แกลบ ชานอ้อย กากปาล์ม กากมันสำปะหลัง ซังข้าวโพด กะลามะพร้าว กากมะพร้าว กากปาล์ม กากมันสำปะหลัง เศษไม้ เป็นต้น กากหรือวัสดุเหลือใช้เหล่านี้เกิดขึ้นจากการผลิตในภาคเกษตรเป็นปกติ และส่วนใหญ่มันถูกทิ้งไปอย่างเปล่าประโยชน์ หรือบางครั้งก็กลายเป็นตัวก่อมลพิษเสียเอง เช่น มลพิษทางกลิ่นจากการบูดเน่าของเศษซากเหลือใช้เหล่านี้..
“โรงไฟฟ้าชีวมวล” คือระบบผลิตไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่ใช้ชีวมวลดังกล่าวในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยใช้วิธีเผาไหม้ชีวมวลให้ได้พลังงานความร้อน แล้วนำพลังงานความร้อนที่ได้ไปสร้างไอน้ำแรงดันสูง ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนกังหันของเครื่องผลิตไฟฟ้าอีกต่อหนึ่ง ชีวมวลแต่ละประเภทอาจมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไปบางชนิดให้ความร้อนสูง บางชนิดให้ความร้อนต่ำ แต่ชีวมวลส่วนใหญ่สามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้
ในแง่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้าชีวมวลที่ถูกสร้างอย่างได้มาตรฐาน มีการตรวจสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ จะไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์แต่อย่างใด ยิ่งการก่อตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวลจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากภาครัฐ ซึ่งต้องดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยเสียก่อน เราจึงยิ่งมั่นใจได้ว่า โรงไฟฟ้าชีวมวลจะไม่สร้างผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หรือพูดได้ว่า ไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าชีวมวลเป็น “พลังงานสะอาด” อย่างแท้จริง ยิ่งกว่านั้น ระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าชีวมวลยังช่วยกำจัดขยะเหลือใช้จากภาคเกษตรได้เป็นอย่างดี
โรงไฟฟ้าชีวมวลนับเป็นอนาคตของแหล่งพลังงานในประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทย จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เหตุใดรัฐบาลชุดนี้ซึ่งนำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงได้ประกาศนโยบายสนับสนุนการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าชีวมวล หรือพลังงานทางเลือกภายใต้โครงการ...“1 อำเภอ 1 โรงไฟฟ้าชีวมวล”